เมนู

คุ้ยฝุ่นออกแล้ว ถือเอาถุงทรัพย์ คุกคามว่า "แกปล้นเรือนแล้ว เทียว
ไปราวกับไถนาอยู่" โบยด้วยท่อนไม้ นำไปแสดงแก่พระราชาแล้ว.
พระราชา ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตชาวนา
นั้น. พวกราชบุรุษ มัดชาวนานั้นให้มีแขนไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวาย
นำไปสู่ตะแลงแกงแล้ว. ชาวนานั้นถูกราชบุรุษเฆี่ยนด้วยหวาย ไม่กล่าว
คำอะไร ๆ อื่น กล่าวอยู่ว่า "เห็นไหม อานนท์ อสรพิษ, 'เห็น
พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย " เดินไปอยู่. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษ ถามเขาว่า
" แกกล่าวถ้อยคำของพระศาสดาและพระอานนทเถระเท่านั้น, นี่ชื่อ
อะไร ?" เมื่อชาวนาตอบว่า "เราเมื่อได้เฝ้าพระราชาจึงจักบอก," จึง
นำไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชาแล้ว.

ชาวนาพ้นโทษเพราะอ้างพระสาดาเป็นพยาน


ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามชาวนานั้นว่า "เพราะเหตุไร เจ้า
จึงกล่าวดังนั้น ?" แม้ชาวนานั้น กราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ
ข้าพระองค์ไม่ใช่โจร" แล้วก็กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระราชา จำเดิม
แต่กาลที่คนออกไปเพื่อต้องการจะไถนา. พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของ
ชาวนานั้นแล้ว ตรัสว่า " พนาย ชาวนานี้อ้างเอาพระศาสดาผู้เป็นบุคคล
เลิศในโลกเป็นพยาน, เราจะยกโทษแก่ชาวนานี่ยังไม่สมควร, เราจักรู้สิ่งที่
ควรกระทำในเรื่องนี้" ดังนี้แล้ว ทรงพาชาวนานั้นไปยังสำนักของพระ-
ศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระ-
องค์ได้เสด็จไปสู่ที่ไถนาของชาวนานั้น กับพระอานนท์เถระแลหรือ ?"
พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

พระราชา. พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอะไรในนานั้น ?
พระศาสดา. ถุงทรัพย์พันหนึ่ง มหาบพิตร.
พระราชา. ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสคำอะไร ?
พระศาสดา. คำชื่อนี้ มหาบพิตร.
พระราชา. พระเจ้าข้า ถ้าบุรุษนี้จักไม่ได้กระทำการอ้างบุคคลผู้
เช่นกับด้วยพระองค์แล้วไซร้, เขาจักไม่ได้ชีวิต. แต่เขากล่าวคำที่พระ-
องค์ตรัสแล้ว จึงได้ชีวิต.

ไม่ควรทำกรรมที่ให้ผลเดือดร้อนในภายหลัง


พระศาสดา ทรงสดับพระราชดำรัสนั้นแล้ว ตรัสว่า "ขอถวาย
พระพร มหาบพิตร, แม้ตถาคตกล่าวคำมีประมาณเท่านั้นนั่นเองแล้ว
ก็ไป, ความตามเดือดร้อนในภายหลังย่อมมี เพราะกระทำกรรมใด
กรรมนั้น ผู้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตไม่พึงกระทำ " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ วิปากํ ปฏิเสวติ.
"บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวย
ผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้น อันบุคคลกระทำแล้ว
ไม่ดีเลย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลกระทำ